อยากเปิดร้านขายของออนไลน์แบบมืออาชีพ ต้องมีอะไรบ้าง
สำหรับบทความนี้ดิ่วจะมาแนะนำหลังจากที่เรามีตัวสินค้าที่เราคิดมาแล้วว่าจะขายอะไรดีนั้นต่อมาเราก็ต้องทำการเปิดร้านค้าออนไลน์ (หากใครยังคิดไม่ออกให้ดูบทความ 5 อย่างที่ต้องพร้อมก่อนเปิดธุรกิจขายของออนไลน์) ในจุดนี้หลายคนอาจจะรู้แล้วว่าเราควรจะมีเว็บไซต์ แฟนเพจ LINE OA แต่วิธีการเปิดใช้งานเครื่องมือเหล่านี้นั้นทำยังไงและทำไปเพื่ออะไรหลายคนอาจจะยังไม่รู้ก็ได้ สำหรับบทความนี้ก็จะมาแนะนำว่าแต่ละเครื่องมือมีประโยชน์อะไรและเปิดใช้งานยังไงครับ
1.เว็บไซต์
อย่างแรกที่จะพูดถึงกันเลยก็คือเว็บไซต์ ซึ่งหลายคนอาจจะรู้จักในชื่อของคำว่า Sale Page Landing Page ซึ่งทั้งหมดนี้มันก็คืออย่างเดียวกันนะครับ เพียงแค่จุดประสงค์ที่นำมาใช้งานในการขายของออนไลน์นั้นไม่เหมือนกันเช่น
เว็บไซต์นั้นจะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าเพราะเป็นการทำงานเต็มระบบของความสามารถในการใช้งานเว็บไซต์ได้ หมายถึงเป็นเว็บที่มีหลายหน้า อาจจะมีระบบตะกร้าเข้ามาเกี่ยวข้อง มีระบบสมาชิก มีการสะสมแต้ม และอาจจะรวมไปถึงระบบบัญชี ระบบขนส่ง การออกใบเสร็จ หรืออื่นๆอีกมากมาย เพราะการเขียนเว็บไซต์นั้นสามารถทำได้ตั้งแต่สเกลเล็กจนถึงระดับ ERP ของบริษัทเลยก็ได้นะครับ ส่วนเซลล์เพจและแลนดิ้งเพจนั้นจะเป็นการลดขนาดของตัวเว็บไซต์ลงให้เหลือเพียงหน้าเดียวเพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและที่สำคัญเลยก็คือเรื่องราคาในการสร้างขึ้นมาครับ
สำหรับการสร้างเว็บไซต์นั้นในปัจจุบันเว็บไซต์มีหลายประเภทหลายรูปแบบให้เราเลือกครับ ไม่ว่าจะเป็น
1 เว็บไซต์สำเร็จรูป
คือเว็บไซต์ที่มีแทมเพจมี ธีมเอาไว้อยู่แล้ว หรือหมายถึงเขามีโครงสร้างไม่ว่าจะเป็นตำแหน่งการจัดวางป้าย ตำแหน่งเมนู ตำแหน่ง Content ที่ใส่เขามีรูปแบบในการจัดวางมาให้อยู่แล้ว เราไม่สามารถย้ายตำแหน่งการจัดวางพวกนี้ได้ แต่เราสามารถเปลี่ยนรูปภาพและเปลี่ยนข้อความได้ครับ
ตัวอย่างเช่นเว็บ lnwshop, weloveshopping, readyplanet สำหรับพวกนี้นั้นจะเป็นเว็บสำเร็จรูปที่จะมีการวางโครงสร้างรูปแบบการจัดวางหน้าเว็บไว้ให้อยู่แล้วเราก็เพียงแค่ไปเปลี่ยนรูปภาพไปเปลี่ยนข้อความใส่วีดีโอที่เป็นสินค้าของเราเข้าไป การใช้งานเว็บสำเร็จรูปแบบนี้นั้นง่ายต่อการใช้งานมากที่สุด เพราะเราไม่ต้องออกแบบเว็บไซต์ทั้งหมด เราเพียงแค่นำรูปไปแทนที่เดิมเท่านั้นก็พอครับ แต่ข้อเสียสำหรับแบบนี้ก็คือเราไม่สามารถเปลี่ยนโครงสร้างของเว็บได้นั่นเองครับ
2 เว็บที่สร้างจาก wordpress
คือเว็บที่มีความยืดหยุ่นมากกว่าสำเร็จรูปเพราะสามารถเปลี่ยนธีม เปลี่ยนโครงสร้างเว็บเบื้องต้นได้ แต่ก็มีข้อจำกัดในการใช้งานบางอย่างอยู่ เพราะยังคงเป็นการเอาโครงสร้างสำเร็จรูปบางอย่างมาใช้งานเพื่อให้ง่ายต่อการสร้างเว็บไซต์มากที่สุด แต่ก็ยังคงมีความยืดหยุ่นมากกว่าและเว็บสำเร็จรูปอยู่ ตัวอย่างเว็บที่ผมใช้ก็เป็นเว็บที่สร้างจาก wordpress ครับ เพราะผมดูแล้วว่าตัวเว็บไซต์ของผมนั้นไม่ต้องการระบบที่ซับซ้อนมาก และไม่ต้องการระบบหลังบ้าน ต้องการเพียงแค่การเขียนคอนเทนต์ลงไปที่หน้าเว็บเพียงเท่านั้น
สามารถดูวิธีการสร้างเว็บไซต์ได้ที่ลิ้ง สอนสร้างเว็บจาก wordpress
3 เว็บที่สร้างจากการเขียน Code ขึ้นมาใหม่ทั้งหมด
สำหรับเว็บพวกนี้มักจะถูกสร้างเป็นเว็บบริษัทหรือ ถูกสร้างเพื่อเป็นระบบที่ใช้ภายในบริษัทกันเองเท่านั้น เพราะเราสามารถปรับแต่งรูปแบบและฟังก์ชันของเว็บไซต์ได้ตามใจชอบ ตัวอย่างเช่น สมมุติว่าเราเปิดเว็บไซต์ของทางโรงพยาบาลขึ้นมา ระบบที่เราต้องการก็คือระบบสมาชิก(คนไข้) ที่สามารถเก็บประวัติได้อย่างละเอียด และระบบอัตโนมัติที่เมื่อรู้ว่าคนไข้เดินทางไปสู่จุดไหนของกระบวนการแล้วก็จะมีการแจ้งเตือนไปยังผู้ให้บริการ (หมอ พยาบาล) ว่ากำลังจะมาถึงขั้นตอนไหนแล้ว และเมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนระบบก็สามารถส่งแจ้งเตือนไปยังบัญชี ระบบจ่ายยา ระบบคลัง พร้อมออกใบเสร็จ เพียงแค่หมอแจ้งไปว่าต้องใช้ยาอะไรบ้าง ระบบก็จะทำการสั่งให้อัตโนมัติทั้งหมด นี่ก็เป็นหนึ่งตัวอย่างเล็กๆง่ายๆ ที่สามารถสร้างและการเขียนโค้ดเด้งขึ้นมาเองทั้งหมด แต่ก็แน่นอนครับการเขียนระบบแบบนี้จะมีราคาแพงที่สุดจากตัวอย่างที่กล่าวมาทั้งหมด
สำหรับการเลือกว่าเราต้องการใช้เว็บแบบไหนนั้นก็จะเป็นไปตามรูปแบบการให้บริการหรือขนาดของธุรกิจของเราครับ สำหรับผู้เริ่มต้นผมก็จะแนะนำเป็นเว็บสำเร็จรูป เพราะมีราคาถูกและสามารถใช้งานได้ง่ายที่สุดครับ
สำหรับบทความนี้ดิ่วก็จะขอยกตัวอย่างการสร้างเว็บจากเว็บเทพช็อปมาให้ดูกันครับ หลังจากที่เราเข้าเว็บเทพช็อปและสมัครสมาชิกเสร็จแล้วนั้น ก็กด เปิดร้านค้าฟรี เลยครับ
พอเราเข้ามาหน้าแรกก็จะเป็นหน้าให้เราใส่ข้อมูลพื้นฐานของร้านค้าออนไลน์ของเรา
-ชื่อร้าน เป็นภาษาอังกฤษ จะโชว์ที่ URL เวลาพิมพ์เข้ามาที่เว้บไซตืของเรา
-ชื่อร้านที่จะโชว์ในร้านให้คนอื่นเห็นภายในเว็บไซต์เรา
-โลโก้ร้าน (ถ้ายังไม่มีข้ามไปก่อนได้)
-ประเภทสินค้าที่ขาย
-รายละเอียดร้านค้าของคุณ
หลังจากใส่ข้อมูลชุดแรกเสร็จแล้ว กดเริ่มสร้างร้านก็จะมาสู่หน้าใส่รายละเอียดการติดต่อ
-เบอร์โทรศัพท์
-อีเมล์
-Line
ในหน้านี้หากไม่มีข้อไหนก็ข้ามได้เลยครับ ไม่ต้องใส่ครบทุกช่องก็ได้
พอเรากดถัดไปแล้วก็จะเป็นการให้เลือกธีม (ในนี้ส่วนจะเป็นการเลือกโทรสีของเว็บเรา)
หลังจากที่เราได้เลือกธีมแล้วก็จะเป็นหน้าสรุปข้อมูลที่เราใส่ลงไปครับ หากใส่ถูกทั้งหมดแล้วให้กด ถัดไป
หลังจากที่เรากดเข้าสู่ระบบก็จะเข้าสู่หน้าแรกของเว็บ รอให้เราตกแต่งเว็บไซต์ต่อไป
หลังจากที่เราสร้างเว็บไซต์เสร็จแล้วอย่างต่อมาที่เราจะมาทำเหมือนกันก็คือสร้างแฟนเพจใน Facebook กันครับ สำหรับในบทความนี้ก็จะเป็นการสอนจากที่เราได้ทำการสมัครตัว Facebook เสร็จแล้วนะครับ
2.Facebook fanpage
บทความนี้จะไม่มีสอนสมัคร Facebook นะครับ คิดว่าหลายๆคนน่าจะสมัคร Facebook กันได้อยู่แล้ว แต่การสร้างแฟนเพจเพื่อทำธุรกิจนั้นหลายคนอาจจะยังทำให้เป็น ซึ่งในบทความนี้ก็จะมาสอนวิธีการสร้าง Facebook เพื่อทำธุรกิจกันครับ
ก่อนอื่นเลยนั้นก็จะขออธิบายก่อนว่า Facebook ส่วนตัวที่เอาไว้คุยกับเพื่อนหรือเรียกกันว่า Facebook Profile ต่างยังไงกับตัว Facebook Fanpage ที่เอามาทำธุรกิจเพื่อใช้ในการขายของออนไลน์กันนะครับ
อย่างแรกเลยคือ Facebook Profile นั้นจะมีปุ่มเพิ่มเพื่อนอยู่ ส่วน Facebook Fanpage จะไม่มีปุ่มเพิ่มเพื่อนแต่จะเป็นปุ่มให้กดไลค์แทน
อย่างที่ 2 คือ Facebook Fanpage สามารถตั้งเวลาให้โพสล่วงหน้าแทนเราได้ครับ
และ Facebook Fanpage สามารถตั้งค่าระบบแชทบอท หรือบล็อกคำต้องห้ามที่เราไม่ต้องการให้มีในโพสต์ของเราได้ครับ
ที่กล่าวมาข้างต้นนั้นเป็นเพียงระบบพื้นฐานเบื้องต้นที่มีในตัว Facebook Fanpage นะครับ ในตัว Facebook นั้นยังมีระบบอื่นๆอีกมากมายที่ใช้สำหรับในการทำธุรกิจขายของออนไลน์ได้
หากสนใจเรียนทำธุรกิจด้วย Facebook Fanpage ดูรายละเอียดได้ที่
หลังจากที่เรา login เข้าสู่ระบบ Facebook มาแล้วนั้นให้เราคลิกสัญลักษณ์ 9 จุดที่มุมขวาบน เลือกสร้างแฟนเพจ
หลังจากนั้นให้ตั้งชื่อแฟนเพจ ใส่หมวดหมู่ และคำอธิบาย
พอกดสร้างเพจ ก็จะเปลีั่ยนมาอีกหน้านึงที่ให้ใส่รูปโปรไลฟ์และรูปcover
หลังจากนั้นเราก็จะได้แฟนเพจเบื้องต้นมาแล้ว เพื่อรอปรับแตงให้เป็นแฟนเพจเพื่อทำธุรกิจต่อ
3. Line OA line official Account
คิดว่าในเวลานี้คงไม่น่าจะมีใครที่ไม่มีไลน์ Application ที่เอาไว้พูดคุยสื่อสารกันอีกแล้ว แต่จะมีใครรู้ไหมว่าไลน์มีอีกหนึ่งผลิตภัณฑ์นั้นก็คือ LINE OA หรือ LINE official Account ที่มีความสามารถที่แตกต่างจากลายธรรมดา โดยข้อดีที่สุดนั่นก็คือสามารถส่งข้อความหากลุ่ม target ที่เป็นเพื่อนในไลน์ของเราได้ในครั้งเดียว ที่เป็นเพื่อนในไลน์ของเราได้ในครั้งเดียวช่วย ที่เป็นเพื่อนในไลน์ของเราได้ในครั้งเดียวช่วยให้เราไม่ต้องคอยก๊อปแชทไป หรือไม่ต้องกลัวว่าคนในกลุ่มจะเพิ่มเพื่อนและไปพูดคุยกันเองเหมือนไลน์กลุ่ม
สำหรับการสมัคร line OA นั้น เราจะต้องมีลายธรรมดาก่อนถึงจะสามารถสมัครเข้าไปที่ LINE official account ได้ เปรียบเทียบกันก็เหมือนกับว่าเราจะต้องมี Facebook ธรรมดาก่อนถึงจะสร้าง Facebook Fanpage ได้นั่นเองครับ
ขั้นตอนการสร้างline oa
ขั้นตอนที่ 1 โหลดแอพหรือเข้าเว็บ
- PC : เข้าไปที่เว็บไซต์ https://www.LINEbiz.com/th/service/LINE-account-connect/
แล้วเลือก “สร้างบัญชีทั่วไป”
บนมือถือ จะสมัครผ่านแอปพลิเคชันชื่อว่า LINE Official Account
- Android: ลิงก์ https://play.google.com/store/apps/details?id=com.linecorp.lineoa
- iOS: ลิงก์ https://apps.apple.com/th/app/line-official-account/id1450599059
เมื่อดาวน์โหลดเรียบร้อยแล้ว กดเข้าไปในแอปพลิเคชันได้เลยครับ
ดิ่วจะขออธิบายเกี่ยวกับประเภทบัญชี LINE OA เพิ่มเติมเล็กน้อยนะครับ
ประเภทบัญชี LINE OA จะมีทั้งหมด 3 แบบ ได้แก่
- บัญชีพรีเมี่ยม: โล่สีเขียว เป็นบัญชีทางการ ไม่สามารถสมัครเองได้ ต้องติดต่อกับ LINE โดยตรง เป็นบัญชีสำหรับธุรกิจหรือองค์กรใหญ่ๆ เช่น ธนาคาร โรงพยาบาล เป็นต้น
- บัญชีรับรอง: โล่สีน้ำเงิน เป็นบัญชีทางการที่ธุรกิจต่างๆสามารถสมัครได้ โดยต้องยืนยันข้อมูลดังนี้
• ชื่อร้าน
• ที่อยู่
• Website (ต้องกรอก https:// นำหน้า)
• ชื่อธุรกิจที่จดทะเบียน
• ข้อมูลผู้สมัคร
หลังจากนั้นรอพิจารณาผล 3-5 วันครับ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบของ LINE ว่าจะอนุญาตหรือไม่ - บัญชีทั่วไป: โล่สีเทา เป็นบัญชีที่ยังไม่ผ่านการรับรอง ไม่มีข้อมูลบริษัท เช่น ร้านค้าต่างๆ บัญชีนี้จะได้รับความน่าเชื่อถือน้อยที่สุด
ขั้นตอนที่ 2 ใส่รายละเอียด
PC : กรอกรายละเอียดสำคัญ 3 ช่อง ได้แก่ (1) ชื่อบัญชี, (2) อีเมล, และ (3) หมวดหมู่ธุรกิจ
ส่วนหัวข้อ “ชื่อบริษัท/ธุรกิจ” สามารถกรอกทีหลัง ในขั้นตอนการยื่นขอเป็นบัญชีรับรองได้ครับ
NOTE: พยายามเลือกหมวดหมู่ธุรกิจให้ตรงกับธุรกิจของคุณที่สุดนะครับ
Android และ iOS: ถึงรูปแบบจะแตกต่างกันเล็กน้อย แต่กรอกข้อมูลเหมือนกันครับ ได้แก่
- ชื่อแอคเคาท์
- ประเภทธุกิจ
- อีเมล
ส่วนหัวข้อ “ชื่อบริษัท/ธุรกิจ” สามารถกรอกทีหลัง ในขั้นตอนการยื่นขอเป็นบัญชีรับรองได้ครับ
ขั้นตอนที่ 3 ตรวจสอบข้อมูล
PC: ตรวจสอบข้อมูลที่เรากรอกไป ว่าถูกต้องครบถ้วนดีหรือไม่ แล้วกดปุ่ม “ดำเนินการต่อ” ได้เลยครับ
Android และ iOS : ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งเพื่อยืนยัน จากนั้นกดปุ่ม “สร้างแอคเคาท์”
ขั้นตอนที่ 4 ได้ RamdomID
PC: สร้างแอคเคาท์เสร็จเรียบร้อยครับ คุณก็จะได้รับ Random ID (ID แบบสุ่ม) ที่นำหน้าด้วย @ ตรงนี้แนะนำให้ซื้อ Premium ID เป็นชื่อธุรกิจของเรา เพื่อง่ายต่อการจดจำ และการค้นหาของลูกค้าครับ
Android และ iOS: สำหรับบนมือถือ ก็จะได้รับ Random ID (ID แบบสุ่ม) เช่นกันนะครับ แต่บน PC จะมีแค่ข้อมูล ชื่อ และ ประเภทธุรกิจ ให้ดู ส่วนบนมือถือ จะมีชื่อบริษัท และอีเมลที่สมัครให้ดูด้วยครับ รูปแบบจะแตกต่างกันเพียงเล็กน้อย
ขั้นตอนที่ 5 กดยอมรับ
เมื่อสมัครเสร็จแล้ว จะต้องกดปุ่ม “ยอมรับ” เพื่อยอมรับข้อตกลงเป็นขั้นตอนสุดท้าย เพียงเท่านี้ก็จะดำเนินการสมัครเสร็จเรียบร้อยครับ
ขั้นตอนที่ 6 เรียบร้อย
เมื่อสร้างแอคเคาท์เสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะพาคุณสู่หน้าหลัก เพียงเท่านั้นคุณก็จะมี Line oa ใช้สำหรับขายของออนไลน์แล้วครับ
หรือหากคุณไม่อยากยุ่งยากในการทำ การตั้งค่า หรือออกแบบกราฟิกตกแต่ง เรามีบริการ เปิดร้านค้าให้คุณพร้อมขายของออนไลน์ คลิกดูแพคเกจ
Add comment